ทีวีดิจิตอล มีมานานแล้วนะครับ โดยเริ่มส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมอย่างแพร่หลายมากว่า 5 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากระบบผ่านดาวเทียมมีข้อจำกัดที่น้อย และยังประหยัดค่าใช้จ่าย ครอบคลุมพื้นที่ได้เป็นบริเวณกว้าง ซึ่งจะอธิบายแบบเข้าใจง่ายๆดังนี้
การส่งสัญญาณจากแต่ก่อนที่ผ่านมา ตัวอย่างคือ ปีอากาศทีวี จะส่งในระบบอนาล๊อก ซึ่งใน 1 ความถี่สามารถส่งสัญญาณได้เพียง 1 ช่องรายการเท่านั้น ดังนั้นสถานีส่งสัญญาณแต่ละพื้นที่ จะต้องมีการเว้นช่องส่ง 1 ช่องซึ่งกันและกัน เช่น ช่อง 3 / 5 / 7 จะเว้นช่อง 4 / 6 / 8 เป็นต้น ย่านความถี่ใช้งานจึงเต็ม ทำให้หนีไปส่งในระบบ UHF ที่มีความถี่ที่สูงมาก ความถี่ที่สูง จึงเกิดการสูญเสียสัญญาณมาก จึงเดินทางไปยังปีกอากาศได้เป็นระยะทางที่ไม่ไกล
ระบบ ดิจิตอล เป็นระบบบีบอัดสัญญาณของแต่ละช่วงเวลา ใน 1 ความถี่สามารถส่งช่องรายการทีวีระบบ SD ได้ถึงกว่า 12 ช่องรายการ และระบบ HD ได้กว่า 6 ช่องรายการ จึงเป็นที่มาของระบบทีวีดิจิตอบภาคพื้นดิน ซึ่งจากเดิมส่ง 1 ช่อง 1 ความถี่ ในบ้านเราจึงมีทีวีพื้นฐานให้รับชมเพียงแค่ 6 ช่องหลักเท่านั้น
ประเทศไทยจะต้องเปลี่ยนแปลงระบบการส่งสัญญาณโทรทัศน์พื้นฐานในระบบ อนาล๊อกเดิมให้เป็น ดิจิตอลภายในเวลาอันใกล้นี้ หน่วยงาน กสทช. จึงต้องเร่งดำเนินการให้ผู้ประกอบการ ผู้ผลิตรายการทีวี ได้ร่วมเข้าประมูลช่องความถี่ ที่ กสทช. ได้จัดสรรค์ขึ้นมา ซึ่งจะมีการประมูลรอบแรกในเดือนสิงหาคมนี้ (ถ้าข้อมูลไม่ผิดพลาด) ซึ่งผู้บริโภคจะมีทางเลือกในการรับชมรายการทีวีจากปีกอากาศ (ก้างปลา) ได้หลากหลายมากยิ่งขึ้น (เป็นข่าวดีสำหรับคนในเมือง หรือพื้นที่ๆรับสัญญาณจากปีกอากาศทีวีได้แรง)
การส่งสัญญาณทีวีดิจิตอลได้เริ่มส่งสัญญาณในระบบดาวเทียมมาก่อนหน้านี้หลายปีผ่านมา โดยมีช่องายการทั้งไทยและเทศกว่า 200 ช่องรายการ ในระบบ Digital SD และปัจจุบันได้เริ่มพัฒนาเป็นระบบ Digital HD
ปัจจุบันระบบดาวเทียมได้เริ่มส่งสัญญาณระบบ HD แล้ว ระบบนี้จะใช้แบนวิดในการส่งสัญญาณดาวเทียมค่อนข้างสูง ซึ่งดาวเทียมไทยคม 5 ปัจจุบัน ช่องความถี่ TP เต็ม จึงต้องรอดาวเทียมดวงใหม่คือ ไทยคม 6 ซึ่งจะให้บริการได้ประมาณปลายปี 2556 นี้
1. สัญญาณครอบคลุมได้เป็นบริเวณกว่า จึงสามารถรับได้ทุกสถานที่ทั่วประเทศ
2. ราคาประหยัด ติดตั้งสะดวก
3. มีช่องรายการให้รับชมหลากหลายมากกว่า
1. มีข้อจำกัดในการรับและส่งสัญญาณ ในพื้นที่ๆไกลสถานีส่ง
2. ต้องติดตั้งในที่สูง ( พื้นที่ๆไกลสถานีส่ง)
ราคากล่อง Set Top Box ของทีวีดิจิตอลผ่านปีกอากาศ เท่าๆกันกับระบบดาวเทียม เนื่องจาก ทีวีในบ้านเราไม่สามารถถอดระหัสดิจิตอลที่ส่งมาได้เหมือนระบบอนาล๊อกธรรมดา จึงจำเป็นต้องมี STB เพื่อถอดระหัสสัญญาณแปลงสัญญาณออกมาสู่ทีวี
Sep 2nd, 2013 เวลา 12:42 น.

บริษัท แอลจี อีเลคทรอนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด ตอกย้ำความเป็นผู้นำตลาดทีวี เตรียมส่งทีวี 4 ซีรี่ยส์ จำนวน 15 รุ่นที่รองรับสัญญาณภาพระบบดิจิตอล ให้ผู้บริโภคได้ครอบครองแล้ววันนี้
หลังจากที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ประกาศรองรับเครื่องรับโทรทัศน์ระบบดิจิตอล เครื่องทีวีที่มีจูนเนอร์ บิวท์อิน ระบบดีวีบี-ที2 แอลจีพร้อมส่งเครื่องรับโทรทัศน์ระบบดิจิตอลสู่ตลาด โดยแอลจีเป็นแบรนด์แรกที่ได้รับสติกเกอร์จากก สทช.อนุญาตให้วางจำหน่าย
คุณอลงกรณ์ ชูจิตร รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท แอลจี อีเลคทรอนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด เผยว่า แอลจีได้เตรียมพร้อมจำหน่ายเครื่องรับโทรทัศน์ระบบดิจิตอลที่มาพร้อมจูนเนอร์ บิวท์อิน ระบบดีวีบี-ที2 ที่รองรับสัญญาณภาพระบบดิจิตอลทั้งหมด 4 ซีรี่ยส์ ได้แก่ LA740T LA690T LA623T และ LN570T โดยมีขนาดให้เลือกตั้งแต่ 32 นิ้วไปจน 60 นิ้ว จำนวน 15 รุ่น ราคาเริ่มต้นที่ 19,990 บาท ถึง 99,990 บาท เพื่อรองรับความต้องการของผู้บริโภคทุกกลุ่มอย่างครบครัน
ด้วยระบบสัญญาณภาพแบบดิจิตอลที่คมชัด โดยใช้งานร่วมกับทีวีดิจิตอลของแอลจีที่มีความคมชัดระดับไฮเดฟฟินิชั่น ผู้บริโภคจะได้รับอรรถรสในการรับชมภาพที่คมชัดสมบูรณ์แบบ และสามารถเพลิดเพลินกับช่องฟรีทีวีที่กำลังจะมีขึ้นในอนาคตถึง 48 ช่อง
นอกจากนี้ ทีวีของแอลจียังมีเทคโนโลยีต่างๆ ที่ครอบคลุมการใช้งานของผู้บริโภคยุคใหม่ เช่น เทคโนโลยีภาพสามมิติ CINEMA 3D TV และฟีเจอร์ Smart TV พร้อมให้ผู้บริโภคท่องโลกออนไลน์ได้อย่างไร้ขีดจำกัด
สำหรับราคาและโปรโมชั่นเครื่องรับโทรทัศน์ระบบดิจิตอลแต่ละรุ่น ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบได้ที่ร้านตัวแทนจำหน่ายทั่วไป หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ข้อมูลแอลจี 0-2878-5757 หรือ www.lg.com/th
ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับแอลจีได้ที่ www.LGnewsroom.com และศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแอลจี ประเทศไทย ได้ที่ www.lg.com/th
การส่งภาพและเสียงในระบบที่เรียกว่า ทีวีดิจิตอลนั้นในปัจจุบันประเทศไทย จะมี 3 แบบคือ
แบบที่ 1 DVB-S ย่อมาจาก ดิจิตอลวิดิโอบรอดคาสติ้ง แซทเทลไลท์ ( DIGITAL VIDEO BROADCASTING Sattelite ) อันนี้ก็คือระบบ สัญญาณดาวเทียมจานดำ C-Band จานแดง KU-Band ที่เราดูกันอยู่

แบบที่ 2 DVB-C ย่อมาจาก ดิจิตอลวิดิโอบรอดคาสติ้ง เคเบิ้ล ( DIGITAL VIDEO BROADCASTING Cable ) อันนี้ก็คือ ระบบเคเบิ้ลทีวีท้องถิ่น บางรายที่เริ่มใช้ระบบดิจิตอลแล้ว แต่ในปัจจุบันส่วนใหญ่ยังเป็นอนาล็อก

แบบที่ 3 ซึ่งเป็นแบบล่าสุด ที่เราจะพูดถึง คือ DVB-T ย่อมาจาก ดิจิตอลวิดิโอ บรอดคาสติ้ง ( DIGITAL VIDEO BROADCASTING Terrstrial Television) หรือเราจะเรียกว่า ทีวีดิจิตอล ทีวีดิจิตัล หรือ ดิจิตอลทีวี แบบที่ผมจะพูดถึงคือ DVB-T มี2 เจนเนอเรชั่นแล้ว ทั้ง DVB-T1 และได้มีการพัฒนามาถึง DVB-T2 แล้ว เป็นระบบที่รองรับ MPEG4 หรือ HDTV

การส่งดิจิตอลทีวี หรือทีวีดิจิตอลนั้นได้เริ่มต้นมา 20 ปีแล้วจากการส่งสัญญาณผ่านทางดาวเทียม ส่วนเคเบิลTV (Cable Television) ยังพึ่งเริ่มเป็นดิจิตอลไม่นานนัก และยังใช้ในบางประเทศ
การรับสัญญาณทีวีดิจิตอลนั้น จำเป็นจะต้องให้เครื่องรับโทรทัศน์ที่ใช้อยู่เดิมรับได้ด้วย เพราะโทรทัศน์ ไม่ใช่ระบบดิจิตอล แต่เป็นระบบอะนาล็อกภาพจะเป็นเส้น ไม่เหมือนคอมพิวเตอร์ เป็นระบบดิจิตอล ภาพเลยเป็นสี่เหลี่ยม ดังนั้นหากใครต้องการที่จะรับโทรทัศน์จากดาวเทียมก็ต้องมีจานรับสัญญาณดาวเทียม ประกอบกับอุปกรณ์ร่วม คือรีซีพเวอร์ ซึ่งต้องนำมาติดตั้งกับเครื่องรับโทรทัศน์ก็จะสามารถรับโทรทัศน์จากดาวเทียมในระบบดิจิตอลได้ โดยจานดาวเทียมจะมีหน้าที่รับสัญญาณจากดาวเทียม มาขยายและส่งเข้ากล่อง กล่องนี้จะแปลงสัญญาณดิจิตอลจากดาวเทียมให้เป็นสัญญาณโทรทัศน์ ในระบบอนาล็อกแล้วส่งไปยังเครื่องรับโทรทัศน์ผ่านทางช่อง AV สามสี แดง ขาว เหลือง
ส่วนระบบเคเบิลทีวีดิจิตอลก็ต้องมีกล่องอยู่ด้านหน้า หรือด้านบนของเครื่องรับโทรทัศน์เดิมเช่นกัน เรียกว่าเซททอปบ๊อก (Set top box) กล่องนี้ก็จะทำหน้าที่แปลงสัญญาณโทรทัศน์ในระบบอนาล็อกและเปลี่ยนช่องสัญญาณส่งเข้าเครื่องรับโทรทัศน์ การควบคุมการใช้งานดูช่องเคเบิลทีวี ก็จะควบคุมจากรีโมทคอนโทรล และเนื่องจากเป็นระบบดิจิตอล การควบคุมก็จะทำได้อย่างสะดวก การสั่งฉายภาพยนตร์เรื่องที่ต้องการก็สามารถสั่งได้ตามเวลาที่กำหนดไว้ หรือเปลี่ยนช่องสัญญาณได้ง่ายการปรับแต่งต่าง ๆ ทำได้ง่าย ๆ
ในขณะที่โทรทัศน์จากดาวเทียมขยายกิจการมากขึ้น มีการถ่ายทอดสดข้ามโลกและครอบคลุมพื้นที่มากขึ้น ทางเคเบิลทีวีก็พัฒนาระบบมากขึ้น มีการให้บริการมากขึ้น ทางโทรทัศน์ที่ส่งด้วยสายอากาศภาคพื้นดิน ก็เลยต้องขยับตัวเพราะโดนแซง และมีความต้องการช่องสัญญาณมากขึ้น ในการพัฒนาโทรทัศน์ภาคพื้นดินนั้น มีความพยายามที่จะเพิ่มสถานีโทรทัศน์ให้มากขึ้นโดยการใช้ช่องสัญญาณความถี่ในย่าน UHF นอกจากนั้น ยังมีความพยายามจะทำโทรทัศน์ให้มีความคมชัดมากขึ้น และมีรายละเอียดมากขึ้นที่เรียกว่า เอชดีทีวี (HDTV)เรื่องนี้มีความพยายามมานานแต่ก็ต้องเลิกล้มไปเพราะเห็นว่าระบบเก่าที่พัฒนานั้นเป็นระบบอนาลอก ซึ่งจะพัฒนาต่อไปก็คงยากมาก จึงหันมาพัฒนาโทรทัศน์ HDTVในระบบทีวีดิจิตอลมาแทน และในอนาคตโทรทัศน์จะก้าวไปสู่ระบบ 4 K
ต้องเข้าใจก่อนนะครับว่าทำไมเสาอากาศถึงไม่ชัด เป็นเพราะเสาอากาศใช้คลื่นFM กระจายภาพในระบบอนาล็อก ไม่ใช่ระบบดิจิตอลทีวี หรือทีวีดิจิตอล และในแต่ละช่องเสาอากาศก็ชัดไม่เท่ากัน ช่องที่ชัดกว่าเพื่อนคือช่อง 3 และช่อง Thai PBS เพราะคลื่นสองช่องนี้มีความถี่ในการทะลุทะลวงสิ่งกีดขวางมากกว่า โดยใช้ระบบ UHF ซึ่งเป็นระบบเดียวกับ ทีวีดิจิตอล
ส่วนการส่งสัญญาณภาพโดยใช้ระบบทีวีดิจิตอลดาวเทียมนั้น สร้างขึ้นมาเพื่อแก้ข้อเสียของเสาอากาศ จึงไม่ใช้วิธีส่งในระบบเดิม โดยหนีไปส่งสัญญาณตรงมาจากอวกาศเลย เมื่อสัญญาณส่งมาจากอวกาศ ก็เลยไม่ผ่านสิ่งกีดขวางใดๆ และ ภาพที่ส่งมาก็ส่งมาในรูปแบบของข้อมูลคอมพิวเตอร์ เมื่อมีการส่งมา ภาพและเสียง ก็เลยชัดเท่ากับต้นทางเลย
แต่ทำไม เวลาส่งภาพผ่านจานเล็ก ถ้ามีฝนตกลงมาขวาง ก็จะรับภาพไม่ได้เลย คำตอบก็คือ สัญญาณที่ส่งมาในจานเล็กนั้นเป็นสัญญาณที่มีความเข้มของสัญญาณสูงมาก และอนุภาคของสัญญาณ จะถูกดูดซับไว้ใน เมฆหรือ น้ำฝนได้
แต่สัญญาณที่ส่งมาในจานใบใหญ่ จะมีการกระจายตัว จึงมีการเล็ดรอดผ่านช่องว่างของเม็ดฝนได้
ส่วนความชัดของภาพ ใกล้เคียงกัน ระหว่างจานใบ เล็ก กับจานดำใบใหญ่ แต่ถ้าพิจารณาโดยละเอียด ทีวีดิจิตอลดาวเทียมจานดำจะมีความชัดของภาพมากกว่าจานKUเล็กนิดหน่อย เพราะฉะนั้น ท่านควรดูจุดประสงค์ว่า ต้องการดูตอนฝนตกหรือไม่ หรือยอมรับการไม่เปิดทีวีตอนฝนตกได้
ที่มา : http://www.satduo.com
<iframe width='420' height='315' src='//www.youtube.com/embed/_TZg15jlcWc' frameborder='0' allowfullscreen></iframe>
เพิ่มเติม
20 ข้อที่ประชาชนควรรู้เกี่ยวกับ ทีวีดิจิตอล ในการใช้งานจริงครับ
20 ข้อที่ควรรู้เกี่ยวกับ ทีวีดิจิตอล (หรือเรียกให้ถูกต้องว่า 'ดิจิตอลทีวี') ทึประชาชนทั่วไปน่าจะเข้าใจง่ายขึ้นครับ
1. ทีวีดิจิตอล สามารถใช้เสาอากาศแบบเดิมที่ใช้กับ 3,5,7,9,11,NBT,TPBS เหมือนในปัจจุบันได้ แต่ถ้าใครถอดออกไปแล้วก็ไม่ต้องรีบซื้อ เพราะสามารถใช้เสาอากาศแบบ หนวดกุ้งได้เช่นกัน
2. เสาอากาศ สำหรับทีวีดิจิตอล สามารถใช้แบบ ในบ้าน หรือ นอกบ้านก็ได้ (หนวดกุ้ง) เพราะการส่งระบบดิจิตอลมีแต่รับได้ กับรับไม่ได้เพราะระบบดิจิตอลคือ ( 0 กับ 1 ) จะไม่มีภาพเป็น ลายๆ เหมือนในทีวีระบบเก่า
3. ทีวีดิจิตอลรับสัญญาณระบบ UHF ดังนั้น ไม่ต้องใช้แผงเสาอากาศใหญ่เหมือนระบบเก่า ใช้แค่แผงเล็กๆ ที่รับช่อง Thai TPBS กับ ช่อง 3 ได้ก็สามารถรับระบบทีวีดิจิตอลได้เหมือนกัน
4. ทีวีดิจิตอลส่งระบบ DVB-T2 ซึ่งเป็นระบบ Mpeg4 ทีวีทุกระบบรับได้ โดยใช้กล่องรับสัญญาณระบบ DVB-T2 หากทีวีของท่านมีช่อง HDMI ภาพที่ออกมาจะก็จะชัดกว่าการเสียบสาย AV เป็นอย่างมาก
5. ทีวีดิจิตอลส่งระบบ DVB-T2 ( Mpeg4 ) ดังนั้น ถ้ากล่องเป็นระบบ DVB-T ( Mpeg2 ) จะรับสัญญาณไม่ได้ (แต่ที่ทำขาย ณ.ปัจจุบันน่าจะเป็น Mpeg4 กันหมดแล้ว)
6. ทีวีระบบเก่า เอาสายจากเสาอากาศมาต่อที่ทีวีได้เลย แต่ ระบบเครื่องรับทีวีของไทยยังไม่รองรับระบบดิจิตอล จึงต้องมีกล่องรับสัญญาณ DVB-T2 เช่นเดียวกับกล่องรับสัญญาณดาวเทียม ก่อนที่จะต่อเข้าทีวีอีกที
7. กสทช มีกฎว่า ทุกช่องที่ออกอากาศทีวีดิจิตอล ต้องส่งผ่านดาวเทียมได้ด้วย ดังนั้น ใครมีกล่องรับสัญญาณดาวเทียมอยู่แล้วไม่ว่ายี่ห้อใดๆ สามารถรับได้แน่นอน เพียงแต่ช่องใหนที่เป็นช่อง HD ก็ต้องใช้ทีวีที่รองรับช่อง HD ได้ด้วยจึงจะสามารถรับได้!
8. ทีวีดิจิตอล ส่งสัญญาณระบบ UHF ดังนั้น แต่ละพื้นที่โดยเฉพาะต่างจังหวัด จะรับสัญญาณได้ไม่เท่ากัน พื้นที่ใดสัญญาณอ่อนต้องมีเสาในการทวนสัญญาณ เพื่อให้แต่ละพื้นที่ไม่มีปัญหาในการรับชม
9. ทีวีดิจิตอลจะมีข้อดี ตรงที่ไม่ต้องติดจานดาวเทียม ซึ่งเข้าถึงบ้านเรือนทั่วไปได้มากกว่าการติดจานดาวเทียม
10. ทีวีดิจิตอล สามารถใช้ร่วมกับเครื่องรับแบบอื่นๆ ได้อีกมากมาย เช่น DVB-T2+DVD , DVB-T2+ Android , DVB-S2+DVB-T2 , DVB-T2 for Car , …….
11. ทีวีระบบดิจิตอลในรถยนต์ ภาพก็จะชัดเหมือนติดจานดาวเทียมบนรถ ไม่มีภาพจะล้มเวลาผ่าน ต้นไม้ หรือ สิ่งกีดขวางต่างๆ และไม่ต้องห่วงเรื่องโดนขโมยจานที่ติดบนหลังคา (ใช้แค่เพียงเสาอากาศเล็กๆ)
12. ทีวีดิจิตอล แต่ละประเทศใช้ระบบไม่เหมือนกัน หากนำทีวี หรือ อุปกรณ์อื่น เข้ามาใช้คนละระบบกับของไทย ก็จะใช้ไม่ได้ เช่น ของอเมริกา ใช้ระบบ ATSC , ของญี่ปุ่นใช้ระบบ ISDB-T , ของจีนใช้ระบบ DTMB
13. ทีวีดิจิตอล สามารถดูผ่าน สมาร์ทโฟน ต่างๆ หรือ แทบเล็ตได้ ขึ้นอยู่กับ App หรือ ฟังก์ชั่นของเครื่องด้วย
14. ทีวีดิจิตอล จะได้เปรียบทีวีดาวเทียม คือ หากมีการถ่ายทอดสดรายการกีฬาสำคัญๆ ทีวีดาวเทียมจะมีปัญหาเรื่องลิขสิทธ์การถ่ายทอดสด จึงทำให้จอดำ แต่ทีวีดิจิตอล สามารถรับได้ปกติ เพราะเป็นระบบ free tv แบบเดียวกับการใช้เสาหนวดกุ้ง (ไม่มีปัญหาเรื่องลิขสิทธ์การถ่ายทอดสด)
15. กสทช กำหนด ให้ ทีวีดิจิตอลมี 48 ช่อง โดยที่มีทีวีท้องถิ่นของชุมชน 12 ช่อง ทีวีสาธารณะ 12 ช่อง ทีวีสำหรับภาคธุรกิจ 24 ช่อง โดยใน 24 ช่องนี้ 17 ช่องจะเป็นมาตรฐานปกติ (SD) และอีก 7 ช่องเป็นมาตรฐานความคมชัดสูง (HD)
16. ปีแรกโครงข่ายจะครอบคลุมพื้นที่แค่ 50% เท่านั้น ปีที่ 2 จะครอบคลุม 80% ปีที่ 3 จะครอบคลุม 90%
17. กล่องรับสัญญาณ DVB-T2 ที่จะนำคูปองมาเป็นส่วนลดได้ ต้องได้การรับรองคุณภาพจาก กสทช
18. ทีวีดิจิตอลในระยะเริ่มแรกจะมีปัญหาในการส่งสัญญาณ ดังนั้น ชั่วงแรก อาจรับสัญญาณยังไม่ได้ครอบคลุม ทั่วประเทศ โดยในระยะแรก รับสัญญาณได้เพียงพื้นที่ที่อยู่ในรัศมี 100 กมจาก กรุงเทพฯ
19. ราคากล่องรับสัญญาณทีวีดิจิตอล เท่าที่มีการคาดการณ์ ในระยะแรก น่าจะไม่เกิน 2,000 บาท และ ราคาจะลดลง เมื่อมีผู้จำหน่ายเพิ่มมากขึ้น แต่เนื่องจาก กล่องรับสัญญาณต้องรองรับมาตรฐาณระบบ HD ดังนั้นราคากล่องไม่น่าจะต่ำกว่า 1,000 บาท
20. ทีวีระบบอนาล็อคแบบเก่า คาดว่าจะปิดตัวลงใน 5 ปี หรือเร็วกว่านั้น เนื่องจาก คาดว่าผู้ให้บริการเก่าจะไม่ต้องการส่งทั้ง สองระบบ เพื่อลดค่าใช้จ่ายลง และอีกอย่างระบบเก่าคนก็จะดูน้อยลงเรื่อยๆ
*** หากท่านใด ต้องการซื้อทีวีใหม่เช่น Plasma , LCD , LED ขอให้อดใจรอสักนิด เพราะบริษัทใหญ่ๆ ที่จำหน่ายทีวีก็จะนำทีวีระบบเก่ามาลดราคาลงอย่างมาก เพื่อนำระบบใหม่มาจำหน่ายแทน หากท่านไม่สนใจว่าต้องเป็นทีวีระบบใหม่ ท่านก็สามารถซื้อทีวีระบบเก่า และนำมาใส่กล่องรับสัญญาณ DVB-T2 ได้ครับ
นำมาจากเวป Pantip.com
กสทช
เชิญเยี่ยมชมสินค้าของเรา