1 เมนสวิตช์ใช้เครื่องตัดวงจรกระเกินขั้วเดียว (1 Pole)
1.1 กรณีที่ใช้ขั้วต่อสายศูนย์และขั้วต่อสายดินร่วมกัน
หมายเหตุ RCD=Residual current device
1. ควรมีเครื่องตัดไฟรั่ว (RCD) ด้วย การมีเครื่องตัดไฟรั่วด้วย จะช่วงเสริมการป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าให้สมบรูณ์ปลอดภัยยิ่งขึ้น
2. กรณีที่ขั้วต่อสายศูนย์เพียงชุดเดียว (ใช้ร่วมกันกับขั้วต่อสายดิน) จะต่อเครื่องตัดไฟรั่วได้เฉพาะในวงจรย่อยเท่านั้น
3. จะใช้เครื่องตัดไฟรั่วในวงจรหลักได้ ต้องมีขั้วต่อสายศูนย์และขั้วต่อสายดินแยกออกจากกัน
4. Circuit Breaker ของวงจรหลัก ต้องมีคุณสมบัติของเครื่องปลดวงจรด้วย
1.2 กรณีมีขั้วต่อสายดิน (Ground Bus) ด้วย
หมายเหตุ
1. ควรมีเครื่องตัดไฟรั่ว (RCD) ด้วย การมีเครื่องตัดไฟรั่วด้วย จะช่วงเสริมการป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าให้สมบรูณ์ปลอดภัยยิ่งขึ้น
2. เครื่องตัดไฟรั่วจะใช้สามารถใช้ได้ทั้งในวงจรหลักและวงจรย่อย
3. Circuit Breaker ของวงจรหลัก ต้องมีคุณสมบัติของเครื่องปลดวงจรด้วย
4. ขั้วต่อสายดิน (G) ต้องไม่เล็กกว่าขั้วต่อสายศูนย์ (N)
5. ขั้วต่อสายศูนย์ (N) ต้องมีฉนวนคั่นกับตัวตู้ที่เป็นโลหะ
6. กรณีที่ไม่ใช้เครื่องตัดไฟรั่ว สายศูนย์จะต้องต่อตามผนัง หรือสายศูนย์จากเครื่องวัดจะต่อเข้าที่ขั้วต่อสายศูนย์ (N) เลยก็ได้ แต่ต้องมีสายต่อฝากระหว่างขั้ว N และขั้ว G ตามขนาดที่กำหนด และสายต่อหลักดินจะต่อจากขั้วต่อสายศูนย์ (N) หรือขั้วต่อสายดิน (G) ก็ได้ กรณีนี้ขั้วต่อสายศูนย์ไม่จำเป็นต้องมีฉนวนคั่นกับตัวตู้ที่เป็นโลหะ
2 เมนสวิตช์ใช้เครื่องตัดวงจรกระแสไฟเกินชนิดมี 2 ขั้ว (2 Pole)
หมายเหตุ
1. ควรมีเครื่องตัดไฟรั่ว (RCD) ด้วย การมีเครื่องตัดไฟรั่วด้วย จะช่วงเสริมการป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าให้สมบรูณ์ปลอดภัยยิ่งขึ้น
2. เครื่องตัดไฟรั่วจะใช้สามารถใช้ได้ทั้งในวงจรหลักและวงจรย่อย
3. Circuit Breaker ของวงจรหลัก ต้องมีคุณสมบัติของเครื่องปลดวงจรด้วย และต้องตัดพร้อมกัน 2 ขั้ว
4. ขั้วต่อสายดิน (G) ต้องไม่เล็กกว่าขั้วต่อสายศูนย์ (N)
5. ขั้วต่อสายศูนย์ (N) ต้องมีฉนวนคั่นกับตัวตู้ที่เป็นโลหะ
1.3 เมนสวิตช์ใช้เครื่องปลดวงจรชนิด 2 ขั้ว (2 Pole) พร้อมฟิวส์
หมายเหตุ
1. ควรมีเครื่องตัดไฟรั่ว (RCD) ด้วย การมีเครื่องตัดไฟรั่วด้วย จะช่วงเสริมการป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าให้สมบรูณ์ปลอดภัยยิ่งขึ้น
2. เครื่องตัดไฟรั่วจะใช้สามารถใช้ได้ทั้งในวงจรหลักและวงจรย่อย
3. ขั้วต่อสายดิน (G) ต้องไม่เล็กกว่าขั้วต่อสายศูนย์ (N)
4. ขั้วต่อสายศูนย์ (N) ต้องมีฉนวนคั่นกับตัวตู้ที่เป็นโลหะ
5. เครื่องปลดวงจรต้องเป็นชนิดปลด Load ได้ และต้องปลดพร้อมกันทั้ง 2 ขั้ว กรณีใช้คัตเอาท์แบบมีฟิวส์ตะกั่ว ให้ใส่ลวดทองแดงแทนฟิวส์ในคัตเอาท์และใช้ Cartridge Fuse หรือ Circuit Breaker เป็นตัวป้องกันกระแสเกิน
6. ห้ามต่อฟิวส์ในวงจรสายศูนย์
1.4 เมนสวิตช์ใช้เครื่องตัดวงจรกระแสเกินชนิดมี 3 ขั้ว (3 Pole)
หมายเหตุ
1. ควรมีเครื่องตัดไฟรั่ว (RCD) ด้วย การมีเครื่องตัดไฟรั่วด้วย จะช่วงเสริมการป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าให้สมบรูณ์ปลอดภัยยิ่งขึ้น
ข้อยกเว้น เมนสวิทช์ขนาดเกิน 1000A ต้องมีเครื่องตัดไฟรั่ว
2. Circuit Breaker ของวงจรหลัก ต้องมีคุณสมบัติของเครื่องปลดวงจรด้วย
3. ขั้วต่อสายดิน (G) ต้องไม่เล็กกว่าขั้วต่อสายศูนย์ (N)
4. ขั้วต่อสายศูนย์ (N) ต้องมีฉนวนคั่นกับตัวตู้ที่เป็นโลหะ
5. กรณีที่ไม่ใช้เครื่องตัดไฟรั่ว สายศูนย์จะต่อตามผนัง หรือสายศูนย์จากเครื่องวัดจะต่อเข้าที่ขั้วต่อสายศูนย์ (N) เลยก็ได้แต่ต้องมีสายต่อฝากระหว่างขั้ว N และขั้ว G ตามขนาดที่กำหนด และสายต่อหลักดินจะต่อจากขั้วต่อสายศูนย์ (N) หรือขั้วต่อสายดิน (G) ก็ได้ กรณีนี้ขั้วต่อสายศูนย์ไม่จำเป็นต้องมีฉนวนคั่นกับตัวตู้ที่เป็นโลหะ
ข้อแนะนำเพิ่มเติมสำหรับการติดติดตั้งระบบสายดินที่ถูกต้อง
1. ภายในอาคารหลังเดียวกันไม่ควรมีจุดต่อลงดินมากกว่า 1 จุด
2. จุดต่อลงดินของระบบไฟฟ้า (จุดต่อลงดินของเส้นศูนย์) ต้องอยู่ด้านไฟเข้าของเครื่องตัดวงจรตัวแรก (เมนสวิตช์)
3. สายศูนย์และสายดินต่อร่วมกันได้เพียงจุดเดียวที่จุดต่อลงดุนภายในตู้เมนสวิตช์เท่านั้น ห้ามต่อร่วมกันในที่อื่นๆอีก เช่น ในแผงสวิตช์ย่อยดั้งนั้น แผงสวิตช์ย่อยต้องมีขั้วสายดินและขั้วต่อสายศูนย์แยกออกจากกันและห้ามต่อถึงกัน ขั้วต่อสายศูนย์ต้องมีฉนวนคั่นกับตัวตู้ซึ่งต้องต่อกับขั้วต่อสายดิน
4. ตู้เมนสวิตช์สำหรับห้องชุดของอาคารชุดและตู้แผงสวิตช์ประจำชั้นของอาคารที่มีหลายชั้น ให้ถือว่าเป็นแผงสวิตช์ย่อย จึงห้ามต่อสายศูนย์และสายดินร่วมกัน
5. ถ้าเครื่องใช้ไฟฟ้ามีการต่อลงดินโดยตรงไปแล้ว ให้ดำเนินการแก้ไขโดยเพิ่มการต่อลงดินที่เมนสวิตช์อย่างถูกต้อง แล้วเดินสายดินเชื่อมต่อจากเมนสวิตช์มาต่อร่วมกับสายดินที่ใช้อยู่เดิม
6. เมนสวิตช์ควรติดตั้งเครื่องตัดไฟรั่วขนาดตั้งแต่ 100mA ขึ้นไป สำหรับป้องกันอัคคีภัย การต่อใช้เครื่องตัดไฟรั่วนั้นจุดต่อลงดินของระบบไฟฟ้าต้องอยู่ด้านไฟเข้าของเครื่องตัดไฟรั่ว มิฉะนั้น จะมีปัญหาในการทำงานของเครื่องตัดไฟรั่ว สำหรับเครื่องตัดไฟรั่วขนาด 30mA ที่ใช้ป้องกันไฟดูดให้ติดตั้งในวงจรย่อย
7. เซอร์กิตเบรกเกอร์ชนิดที่มี 2 ขั้ว เมื่อใช้กับระบบสายดิน เซอร์กิตเบรกเกอร์แต่ละขั้วจะต้องมีความสามารถในการตัดกระแสลัดวงจรได้ตามพิกัดกระแสลัดวงจร (IC) ของเซอร์กิจเบรกเกอร์ชนิดมี 2 ขั้ว ขนาด 10 kA แต่ละขั้วจะต้องตัดไฟได้ 10 kA ที่แรงดัน 220 โวลต์ ด้วย
8. ถ้าสายวงจรเดินในท่อโลหะต้องเดินสายดินร้อยภายในท่อโลหะร่วมกับสายวงจร ห้ามเดิมสายดินภายนอกท่อโลหะ
9. วงจรสายดินที่ถูกต้องจะต้องไม่มีกระแสโหลดจาการใช้งานปกติไหลอยู่ในวงจรสายดิน
10. ตู้เมนสวิตช์ควรใช้ชนิดที่มีขั้วต่อสายศูนย์ และขั้วต่อสายดินแยกจากัน
11. สายต่อหลักดินที่ใช้ต้องมีฉนวนหุ้มด้วย
12. รายละเอียดอื่นๆ ของการติดตั้งระบบสายดิน ต้องเป็นไปตามมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้า สำหรับประเทศไทย พ.ศ. 2545
ที่มา : http://www.praguynakorn.com
หากท่านชื้อเครื่องไฟฟ้ามาแล้วต้องการติดตั้งใช้งาน
ให้สังเกตุปลั๊กไฟ้ามีช่องเสียบ3รูหรือไม่ ถ้ามีแสดงว่ามีสายดินที่ปลั๊ก(บ้านใหม่จะมี)
สังเกตุที่ปลั๊กที่เครื่องใช้ไฟฟ้ามี3ขาหรือไม่หากมีก็เสียบใช้งานได้เลย
หากไม่มี เช่นตู้เย็น ให้หากสายไฟสายเดี่ยวต่อกับเครื่องที่เป็นโลหะอีกด้านหาจุดที่ต่อลงพิ้นดินให้ลึกเท่าที่ทำได้
วิธีการนี้ไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ แต่ก็ช่วยไม่ให้ถูกไฟฟ้าดูดได้ โดยใช้หลักไฟฟ้าเบี้องต้นว่า
ไฟฟ้าจะไหลผ่านตัวนำที่มีความต้านทานต่ำ หมายถึงสายไฟมีความต้านทานต่ำกว่าตัวเรา
หลังจากนั้นท่านต้องไปจ้างช่างไฟฟ้ามาติดตั้ง กราวด์หลอด ให้ถูกต้องเพื่อการใช้งานระยะยาว
มีผู้รู้ลงวิธีการต่อสายเข้าตู้คอนซูมเมอร์ยูนิคไว้ในพันทิพ
จันทร์เจริญกิจ
ขอเชิญเยี่ยมชมสินค้าของ จันทร์เจริญกิจ