ปัจจุบันหลอดไฟ LED มีประสิทธิภาพการให้พลังงานแสงสว่างที่ระดับสูงถึง 120 ลูเมน/วัตต์
สูงกว่าหลอดไฟฟ้าแบบขดลวดที่มี ประสิทธิภาพที่ระดับ 15 ลูเมน/วัตต์ หลอดไฟแบบฟลูออเรสเซ็นต์ ซึ่งมีประสิทธิภาพถึง 80 – 100 ลูเมน/วัตต์ อย่างไรก็ตาม แสงสว่างของหลอดไฟฟลูออเรสเซ็นต์จะกระจายออกไปทุกทิศทาง ทำให้แสงกระจายโดยสูญเปล่าเป็นจำนวนมาก ขณะที่แสงสว่างของหลอดไฟ LED จะส่องไปเฉพาะจุดด้านหน้าเท่านั้น ดังนั้นประสิทธิภาพของหลอดไฟ LED จึงนับว่ามีประสิทธิภาพมากกว่าหลอดฟลูออเรสเซ็นต์ ในเรื่องของการประหยัดไฟถึง3เท่า ในปริมาณแสงสว่างที่เท่ากัน ยิ่งไป กว่านั้นหลอดไฟ LED นั้นก้าวหน้าเร็วมาก ทำให้มีแนวโน้มว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงมาใช้หลอดไฟ LEDให้แสงสว่างแทนหลอดฟลูออเรสเซ็นต์ทั้งหมด เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาประสิทธิภาพของ LED เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจาก 5 ลูเมน/วัตต์ ในปี 2539 เป็น 50 ลูเมน/วัตต์ ในปี 2546 และเพิ่มขึ้นเป็น70 วัตต์/ลูเมน ในปี 2547 ปัจจุบัน กลุ่มหลอดไฟ LED ที่กลุ่มผู้บริโภคสามารถจับต้องได้ หรือ ซื้อหามาเพื่อใช้ทดแทนหลอดไฟเดิม ได้พัฒนาสูงถึง 120 ลูเมน/วัตต์
(ยังไม่รวมถึงหลอดต้นแบบที่สามารถทำได้สูงถึง 150 ลูเมน/วัตต์)
ความปลอดภัยจากการใช้หลอดไฟLED ทำให้แสงสว่างที่ได้จากการใช้งาน ไม่เกิดอันตรายจากรังสีอินฟราเรด รังสีอุลตราไวโอเลท สารปรอท และการไม่เกิดการกระพริบของแสงซึ่งเป็นอันตรายต่อสายตา จากการที่ LED ปล่อยความร้อนออกมาน้อยมาก ทำให้อาคารลดการสูญเสีย พลังงานไฟฟ้าในส่วนเครื่องปรับอากาศ ทำให้ช่วยประหยัดพลังงานมากขึ้นไปอีก
อายุการใช้งานของหลอด LED ยาวนานถึง 100,000 ชั่วโมง หรือ 11 ปี
เปรียบเทียบกับหลอดฟลูออเรสเซ็นต์ซึ่งมี อายุใช้งาน 30,000 ชั่วโมง หรือหลอดไฟฟ้าแบบขดลวดที่
มีอายุใช้งานเพียง 1,000 – 2,000 ชั่วโมงเท่านั้น
หลอด LED ยังมีความทนทานต่อการสั่นสะเทือนมากกว่า จึงเหมาะสม
สำหรับติดตั้งในเครื่องบินหรือรถยนต์ นอกจากนี้ หลอด LED ไม่เปราะบางเหมือนกับหลอดไฟฟ้า
แบบขดลวดหรือหลอดฟลูออเรสเซ็นต์ บางครั้งแม้ถูกทุบตีอย่างแรง ก็ยังสามารถใช้งานได้
หลอด LED เหมาะสำหรับหลอดไฟที่ต้องการให้เปิดปิดบ่อยครั้ง เนื่องสามารถเปิดปิดบ่อยๆ โดยไม่มีปัญหาแต่อย่างใด และเมื่อเปิดหลอดไฟ จะให้ความสว่างโดยทันทีนับว่าแตกต่างจากหลอดฟลูออเรสเซ็นต์ที่ หากเปิดปิดบ่อยครั้งจะเสียง่าย หรือหลอด HID ซึ่งเมื่อเปิดสวิชต์แล้ว จะใช้เวลาช่วงหนึ่งกว่าจะให้แสงสว่างออกมาแม้ปัจจุบันมีการนำ LED ไปใช้ในอุปกรณ์ต่างๆ มากมาย แต่กลับยังไม่ได้นำมาใช้แพร่หลาย เพื่อให้แสงสว่างภายในบ้าน เนื่องจากมีข้อจำกัดสำคัญ คือ ยังไม่สามารถผลิต LED ที่เปล่งแสงสีขาวโดยแท้จริงได้ โดยปัจจุบันมี 2 วิธี ที่นำมาใช้เพื่อผลิต LED ที่เปล่งแสงสีขาวโดยทางอ้อม
วิธีแรก นับเป็นวิธีการที่นิยมใช้มากที่สุดและง่ายที่สุด คิดค้นโดยบริษัท Nichia เมื่อปี 2539
คือ การเคลือบ LED สีน้ำเงินด้วยสารเรืองแสงสีเหลือง อย่างไรก็ตาม ข้อเสียของวิธีการนี้ คือก่อให้เกิด การสูญเสียพลังงาน ทำให้ประสิทธิภาพในการให้แสงสว่างลดลง
วิธีที่สอง นับเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพการใช้พลังงานสูงกว่า คือ การนำแสงสีแดง เขียว และ น้ำเงิน มาผสมกันให้พอเหมาะเพื่อให้เป็นสีขาว ซึ่งมีข้อดี คือ นอกจากผสมกันเป็นสีขาวแล้ว ยังสามารถ ผสมสีออกมาเป็นสีต่างๆ ได้ตามต้องการ อย่างไรก็ตามข้อเสียของวิธีการนี้คือ มีความยุ่งยากและมีค่าใช้จ่าย สูงในการบำรุงรักษาเนื่องจากจะต้องมีหลอด LED จำนวนมาก
สำหรับข้อจำกัดอีกประการหนึ่ง คือ ราคาหลอด LED สีขาวยังแพงกว่าหลอดฟลูออเรสเซนต์อยู่มาก อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันการวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับ LED ได้ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ดังนั้น ผู้เชี่ยวชาญได้คาดหมายว่าภายในปี 2553 ต้นทุน LED สีขาวจะใกล้เคียงกับหลอดฟลูออเรสเซนต์ ซึ่งจะทำให้ตลาด LEDขยายตัวอย่างรวดเร็ว
หลอดไฟ LED เทคโนโลยีแห่งอนาคต
![]() |
ไฟ LED |
หลอดฟลูออเรสเซนต์มีสารปรอทอยู่ในหัวตัวหลอด ถ้าเกิดทำหลอดไฟแตกแล้วเกิดไปเหยียบเศษของหลอดไฟนั้น โดยไม่ล้างแผลทันที จะทำให้เป็นอันตรายร้ายแรง
หลอดไส้ |
หลอดไส้, หลอดฟลูออเรสเซนต์ กินไฟมาก ถ้าเปิดใช้งานไว้ตลอด 24 ชั่วโมง และทำให้เปลืองพลังงานไฟฟ้าของประเทศเป็นอย่างมาก หลายๆประเทศจึงประกาศยกเลิกใช้ หลอดไส้ หรือ หลอดฟลูออเรสเซนต์ไปตามๆกัน
หลอดไส้, หลอดฟลูออเรสเซนต์ นั้นมีอุณภูมิแสงมากเมื่อใช้งานในระยะเวลาหลายชั่วโมง จะทำให้มีความร้อนสูงมากและแตะต้องไม่ได้
หลอดไส้, หลอดฟลูออเรสเซนต์ จะเสียได้ง่ายเมื่อเกิดการ เปิด-ปิด กันบ่อยๆ
จากที่ได้กล่าวไปข้างต้นหลายๆประเทศที่ประกาศยกเลิกใช้หลอดไส้และหลอดฟลูออเรสเซนต์นั้น ได้หันเหกันมาใช้งาน หลอดไฟ LED กันหมดเนื่องจากหลอดไฟ LED นั้นมีประโยชน์หลายๆอย่าง ซึ่งจะกล่าวต่อไป แต่ข้อเสียของหลอดไฟ LED นั้นคือ มีราคาแพงกว่า หลอดไส้ และ หลอดฟลูออเรสเซนต์ประมาณ 2-3 เท่า แต่หลายๆประเทศก็ยังเลือกใช้กันเนื่องจากหลอดไฟ LED มีอายุการใช้งานที่มากกว่าหลอดไส้ หรือ หลอดฟลูออเรสเซนต์ หลายเท่า โดยเฉลี่ยแล้วอยู่ที่ 50,000 ชั่วโมง หรือ 4-5 ปี เลยทีเดียว
หลอดไฟ LED เมื่อเปิดสวิทช์ไฟแล้วหลอดจะติดทันทีโดยไม่มีการกระพริบเหมือน หลอดไส้ และ หลอดฟลูออเรสเซนต์
หลอดไฟ LED นั้นมีอุนภูมิความร้อนที่น้อยกว่า หลอดไส้ และ หลอดฟลูออเรสเซนต์ เนื่องกินกระไฟน้อย จึงทำให้ LED ที่อยู่ข้างในหลอดนั้นเปล่งความร้อนออกมาได้น้อยกว่าหลอดไส้ และ หลอดฟลูออเรสเซนต์
หลอดไฟ LED ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม เนื่องจากเป็นหลอดที่ใช้พลังงานไฟฟ้าที่ต่ำ และตัวหลอดนั้น ทำมาจากพลาสติก และโพลีเมอร์ ซึ่งย่อยสลายได้ง่าย กว่าหลอดไส้และหลอดฟลูออเรสเซนต์
หลอดไฟ LED ประหยัดค่าไฟ มากกว่าหลอดไส้หรือหลอดฟลูออเรสเซนต์ เมื่อเทียบราคาค่าไฟ ต่อเดือนของหลอดไฟ LED กับ หลอดไส้และหลอดฟลูออเรสเซนต์ จะเห็นความแตกต่างกันได้ชัด แต่ก็ต้องแลกมาด้วยราคาที่แพงกว่าของ หลอดไฟ LED แต่เมื่อใช้ไปนานๆ จะเกิดจุดคุ้มทุน และทำให้ค่าใช้จ่ายลดลงอย่างเห็นได้ชัด
![]() |
หลอด LED T8 |
จากที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่าหลอดไฟ LED นั้นมีข้อดีที่เยอะกว่าหลอดไส้หรือหลอดฟลูออเรสเซนต์เยอะ อาจจะมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันเยอะกว่านี้ แต่ด้วยผู้เขียนนำข้อดีและข้อเสียทีี่เป็นจุดเด่นออกมาให้ผู้อ่านได้อ่านกันซะส่วนมาก แต่ถ้าอยากหาความรู้มากกว่านี้ แนะนำให้ไปที่ Google หรือ บริษัทผู้ผลิตหลอดไฟ LED ได้เลยครับ จะมีข้อดีและข้อเสียที่เยอะกว่านี้อีกหลายเท่า และสามารถไขข้อข้องใจเกี่ยวกับหลอด LED กับหลอดไส้ ได้อย่างชัดเจนครับ ส่วนตัวผู้เขียนคิดว่า ปัจจุบันมีการเริ่มใช้ หลอดไฟ LED กันมากขึ้น ซึ่งก็เป็นข้อดีสำหรับประเทศที่เริ่มพัฒนาอย่างเรา อย่างไรก็ตาม หลอดไฟ LED นั้นมีความเป็นไปได้ที่ประเทศเราจะหันเหกันมาใช้หลอดไฟ LED ในระยะเวลา 4-5 ข้างหน้าก็เป็นได้
แนวโน้มการหันมาใช้หลอดไฟประหยัดพลังงาน LED
ปัจจุบันจากความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีเซมิคอนดักเตอร์ ทำให้เทคโนโลยีของ LEDนั้นก้าวหน้าอย่างรวดเร็วตามไปด้วย ปัจจุบันได้มีการนำ LED มาใช้ประโยชน์แพร่หลายมากขึ้นเรื่อยๆ เช่น ในเครื่องคิดเลข สัญญาณจราจร ไฟท้ายรถยนต์ ป้ายสัญญาณต่างๆ ไฟฉาย ไฟให้สัญญาณของประภาคาร จอภาพยนตร์ขนาดใหญ่ ยิ่งไปกว่านั้น หน้าจอ LCD ของโทรศัพท์มือถือที่เราใช้กันทั่วไป เกือบทั้งหมดจะให้แสงสว่างด้วย LED ขณะเดียวกันรัฐบาล ประเทศต่างๆ ได้ส่งเสริมการใช้ประโยชน์จาก LED เพื่อลดการใช้พลังงาน
![]() |
แนวโน้มของหลอดไฟ LED |
ภายใน 3 ปี ยิ่งไปกว่านั้น ในอนาคตจะเปลี่ยนไฟที่ให้แสงสว่างแก่ถนนมาเป็น LED เช่นเดียวกัน จากการนำไปประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลาย ทำให้ปัจจุบันตลาด LED แบบที่มีแสงสว่างได้เติบโตอย่างรวดเร็วจาก 122 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2538 เป็น3,900 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2548 และคาดว่าในอนาคตเติบโตขึ้นในอัตราสูงถึงปีละ 25% โดยสัดส่วนมากกว่าครึ่งหนึ่ง คือ 52% ได้นำไปใช้ในการให้แสงสว่างแก่จออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบเคลื่อนที่ เช่น จอโทรศัพท์มือถือ จอของกล้องดิจิตอล ฯลฯ รองลงมา คือ ใช้ในป้ายและจอภาพขนาดใหญ่ 14%ใช้ในรถยนต์ 14%
ดังนั้นอาจจะเป็นไปได้ว่า อนาคตของเราต่อไปนี้ ทุกอย่างที่เป็นอุปกรณ์ที่ส่องสว่างทั้งหมด จะถูกผลิตขึ้นมาโดยมี LED เป็นส่วนประกอบ ก็เป็นได้
ที่มา : www.tdlightled.com